คำเป็น-คำตาย
คำเป็น
ก. ได้แก่พยางค์เสียงยาวในมาตรา ก กา เช่น จ้อ ปู่ อา ฯลฯกับพยางค์ที่ประสมสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น ดำ ใบ ไม่ สำ ฯลฯ
ข. ได้แก่พยางค์ที่มีตัวสะกดในมาตรา กง กน กม เกย เกอว เช่น กรง ขัน คราม ง่อย โจร ปีน ราว ฯลฯ
คำตาย
ก. ได้แก่คำหรือพยางค์เสียงสั้นในมาตรา ก กา เช่น จะ ติ บ่ ฯลฯ
ข. ได้แก่คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในมาตรา กก กด กบ เช่น กาก จุก ปิด ตรวจ พบ ลาภ ฯลฯ
หมายเหตุ คำตายนี้ใช้แทนคำเอกในโคลงได้ (ดูข้อ ๕ คำเอก คำโท)
ในกลอนกลบทบางชนิด เช่น บทที่มีชื่อว่า "อักษรกลอนตาย" ก็ใช้คำตาล้วน
ครุ - ลหุ
ครุ (คะ-รุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงหนัก" ลหุ (ละ-หุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงเบา"
ซึ่งประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ส(งบ) สะ(อาด) ส(ว่าง) ฯลฯ
ครุและลหุ มักใช้เป็นตัวกำหนดฉันทลักษณ์ในบทร้องกรองเช่น ฉันท์ กาพย์ เป็นต้น
ลักษณะของครุ และลหุ
ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
1.
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวและ
อำ ใอ ไอ เอา ในแม่ ก กา เช่น ปู นา ขา เก ตัว ใหญ่ เสีย ไม่ มี ฯลฯ
2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกด ไม่ว่าสระเสียงสั้นหรือเสียงยาว
เช่น เดือน เพ็ญ สวย เย็น เห็น (อ)ร่าม ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น