สังคมศึกษา

เศรษฐกิจและสังคม


          ประเทศไทยได้เริ่มบุกเบิกงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ..2504 เป็นเวลา 20 ปี เต็ม โดยรัฐได้กำหนดให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมาเป็นระยะๆ ติดต่อกันมาถึง 4 แผน เพื่อใช้เป็นกรอบนำในการระดมและจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจ กำลังเงิน กำลังคน และระบบงานของรัฐมาทำการบูรณะ ขยายกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างระบบการผลิต การจำหน่าย และความเป็นอยู่ของประชาชนจนทำให้ประเทศสามารถก้าวเข้ามาสู่สังคมเศรษฐกิจ ที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้ก็เป็นที่ประจักษ์และยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่สถาบันเศรษฐกิจและการ เงินระหว่างประเทศว่า เศรษฐกิจไทยได้ประสบผลสำเร็จในการขยายและกระจายฐานกำลังผลิตแทบทุกสาขาไป อย่างกว้างขวาง ตลอดทั้งได้เร่งการส่งออกและเพิ่มการมีงานทำขึ้นในอัตราที่สูงมากเมื่อ เปรียบเทียบกับบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกัน ทั้งหมดนี้นับว่าเป็นพลังอันสำคัญที่ช่วยผลักดันระดับฐานะเศรษฐกิจไทยให้พ้น จากประเทศที่มีรายได้ต่ำเข้ามาอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มี รายได้ปานกลางแล้วในปัจจุบัน
          ทั้งนี้จะเป็นได้ว่าในช่วงเวลา 20 ปีที่ได้มีการเร่งรัดพัฒนาประเทศนั้น ฐานะเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติได้ขยายขึ้นกว่า 14 เท่าตัว คือจากฐานเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการผลิตเพียง 60,000 ล้านบาทในปี 2504 มาเป็น 817,000 ล้านบาทในปี 2524 ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลของไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่าตัวในช่วงเดียวกัน คือจาก 2,200 บาทต่อคนในปี 2504 มาเป็น 17,200 บาทต่อคนในปี 2524 ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการของไทยได้เพิ่มขึ้นกว่า 16 เท่าตัว คือจากมูลค่าการส่งออกเพียง 9,900 ล้านบาทในปี 2504 เพิ่มเป็น 163,000 ล้านบาทในปี 2524 เป็นต้น
          ฉะนั้น ใน 5 ปี ข้างหน้า ซึ่งถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของระบบเศรษฐกิจไทยนั้น หากได้มีการปรับโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจ ตลอดทั้งจัดให้มีการฟื้นฟูฐานะทางการเงินและแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้ากับ ต่างประเทศได้ตามเป้าหมายและแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 นี้แล้ว เป็นที่เชื่อมั่นว่าฐานะเศรษฐกิจของไทยจะมั่นคงก้าวไปสู่ ประเทศกึ่งอุตสาหกรรมได้ อย่างแน่นอน กล่าวคือ จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยที่การผลิตและรายได้จากภาค อุตสาหกรรมไทยจะขยายสัดส่วนขึ้นใกล้เคียงกับภาคเกษตรฐานเศรษฐกิจและรายได้ ประชาชาติจะก้าวเข้าสู่เป้า 1,860,000 ล้านบาท โดยที่รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวจากปัจจุบัน คือจะเป็นประมาณ 35,700 บาทต่อคนในปี 2529 ขณะที่มูลค่าการส่งออกของไทยจะย่างเข้าสู่เป้า 445,000 ล้านบาทในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 นอกจากนั้นโครงสร้างการผลิตและการส่งออกจะมีความสมดุลขึ้น โดยการที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะมีบทบาทมากขึ้น คือ เป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในปี 2529 และเป็นที่เชื่อมั่นว่า
ความเจริญและกิจกรรมเศรษฐกิจต่างๆ จะกระจายออกสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นต่างๆ มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
          อย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ทุกวงการว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างสมปัญหาและบั่นทอนเสถียรภาพและการเงินของประเทศ ทั้งได้ยังความเสื่อมโทรมให้แก่ฐานทรัพยากรเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรที่ดิน พลังงาน แหล่งนั้น ป่าไม้ หรือแหล่งประมงได้ถูกทำลายและนำมาใช้อย่างสิ้นเปลืองและขาดการอนุรักษ์ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ส่ง
ผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมทางสังคมและสร้างความแออัดในเมืองมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทางด้านวัฒนธรรม ค่านิยม สุขภาพจิตและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดทั้งมีปัญหายาเสพติดทวีขึ้น นอกจากนั้น ก็เป็นที่ยอมรับอีกเช่นกันว่า ผลการพัฒนาและความเจริญทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นเฉพาะบางบริเวณหรือในพื้นที่บางส่วนของประเทศเท่านั้น กล่าวคือ การพัฒนามิได้กระจายไปอย่างทั่วถึง ยังมีพื้นที่และประชาชนในชนบทอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่ผ่านมา และยังมีความเป็นอยู่ที่ล้าหลังและมีฐานะยากจนอยู่อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ประมาณว่ายังมีประชากรในชนบทอีกกว่า 10 ล้านคนที่อยู่ในข่ายยากจน
          นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกในช่วง 7 - 8 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน วิกฤตการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศ ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจชะงักงันของโลกได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ทั้งนี้เพราะมีการทำมาค้าขายและพึ่งการนำเข้าพลังงาน สินค้าทุน และปัจจัยการผลิตหลายอย่างจาก
ต่างประเทศในอัตราสูง ขณะเดียวกันยังมิได้มีการปรับตัวและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้ากับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกเท่าที่ควร ประจวบกับภาวะความตึงเครียดในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านได้สร้างสมและเพิ่มความกดดันทางเศรษฐกิจการครองชีพ และการบริหารงานด้านความมั่นคงของประเทศมากขึ้น
          ทั้ง นี้ จะเห็นได้ว่าขีดความสามารถของกลไกบริหารพัฒนาของรัฐเองก็มีข้อจำกัดหลาย ประการ เพราะไม่ได้มีการปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคที่จะสามารถรับมือได้กับปัญหาต่างๆ ที่ประดังเข้ามา ยังขาดระบบการประสานงานที่ดีทั้งด้านการกำหนดนโยบายและการแปลงแผนไปสู่ภาค ปฏิบัติตลอดทั้งการประสานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกับภาคเอกชน ทั้งนี้เพราะว่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปัญหารากฐานขั้น โครงสร้างที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้โดยวิธีการเฉพาะหน้าระยะสั้นอย่างง่ายๆ แต่จะต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่จะต้องยอมรับความเป็น จริงของโลกในปัจจุบัน โดยการลดความหวังลงบ้าง และหันมาร่วมกันปรับตัวเอง ซึ่งอาจจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากในระยะแรกนี้บ้าง ในการนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันสร้างวินัยเศรษฐกิจในชาติ เพื่อให้โอกาสแก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยได้ปรับตัวไปในทิศทางใหม่ให้สามารถ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ในอนาคต
          นอก จากนั้นการพัฒนาประเทศจะต้องสร้างความสมดุลและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพื่อ ลดช่องว่าทางสังคมลงโดยให้มีการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจ ลดการผูกขาดและการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจลง ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความมั่นคงและความอยู่รอด ทางการเมืองของชาติในอนาคต หากสามารถแก้ไขปัญหารากฐานเหล่านี้ได้ ประเทศก็สามารถจะก้าวไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและความสมานฉันท์ปรองดองกันใน ชาติสืบต่อไปใน 10 ปีข้างหน้า
          ดังนั้น การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จึงได้ปรับแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ แนวใหม่ซึ่งแตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่แล้วๆ มา โดยถือว่าเป็น แผนนโยบายที่มีความชัดเจนพอที่จะแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติได้และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้คือ
          ประการแรก : เน้น การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจมากกว่า การมุ่งขยายอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่อย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจและการผลิตภายในประเทศสามารถปรับตัวรับกันสถานการณ์ของโลกในอนาคต โดยเน้นการ เพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจและการเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก แทนที่จะมุ่งเป้าหมายที่จะขยายอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจส่วนรวมแต่เพียงอย่างเดียวอย่างที่เคยกระทำมา ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นจะต้องฟื้นฟูฐานะการเงินของประเทศที่ได้ใช้จ่ายเกินตัว และแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าและการคลังของประเทศให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยร่วมกันสร้างวินัยเศรษฐกิจในชาติเพื่อควบคุมรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและประหยัดการใช้พลังงานของประเทศให้ลดลง ขณะเดียวกัน จำเป็นที่จะต้องเร่งการผลิตเพื่อส่งออกหารายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น
          ประการที่สอง : เน้น ความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจให้มากขึ้น ขณะเดียวก็จะเน้นความสมดุลของการพัฒนาระหว่างสาขาเศรษฐกิจ ระหว่างพื้นที่และระหว่างกลุ่มเป้าหมายต่างๆ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผลประโยชน์จากการพัฒนาเกิดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่หรือตก อยู่ในบางกลุ่มชนอย่างที่เคยเป็นมา
          ประการที่สาม : เน้น การแก้ปัญหาความยากจนของคนชนบทในเขตล้าหลัง เป็นเห้าหมายสำคัญเพื่อให้ประชาชนในชนบทเหล่านี้ได้มีโอกาสช่วยตัวเองและมีส่วนร่วมในขบวนการผลิตและพัฒนาประเทศได้ต่อไปในอนาคต
          ประการที่สี่ : มุ่งการประสานงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารงานรักษาความมั่นคงของชาติ ให้สอดคล้องสนับสนุนกันอย่างได้ผล
          ประการที่ห้า : เน้นการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยการปฏิรูปขบวนการวาง
แผนงาน การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน การบริหารกำลังคนให้สอดประสานกัน ขณะเดียวกันจะทำการปรับหรือพัฒนาองค์กรของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้สามารถนำเอานโยบายและแผนงานพัฒนาที่สำคัญไปปฏิบัติให้ได้ตามเป้าหมายที่ วางไว้ โดยการจัดทำ แผนปฏิบัติการระดับกระทรวงและสาขาการพัฒนาที่สำคัญๆ ขึ้น ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดทำ แผนลงทุนระยะ 3 ปีเพื่อเป็นแนวในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินและระดมเงินกู้และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยถือว่าแผน
พัฒนาฯ ฉบับที่ 5 เป็นแผนวางกรอบนโยบายเท่านั้น ขณะเดียวกันจะเร่งให้มีการกระจายอำนาจการพัฒนา บริหารประเทศไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชนบท
          ประการสุดท้าย : เน้น บทบาทและระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน ให้เข้ามาร่วมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการผลิตในสาขาเกษตร อุตสาหกรรม การพัฒนาพลังงานและเร่งการส่งออก โดยรัฐจะทบทวนกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อลดการแทรกแซงและอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาธุรกิจของเอกชนตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 โดยจะเสริมสร้างบทบาทและสมรรถภาพขององค์กรหรือสถาบันธุรกิจเอกชนที่สำคัญให้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศต่างๆ
ต่อไป
          นอกจากนั้น รัฐบาลจำเป็นจะต้องให้การสนับสนุนนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาด้านต่างๆ ของแผนพัฒนาอย่างใกล้ชิด โดยสั่งการให้กระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ นำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และจะต้องจัดให้มีศูนย์ติดตามประเมินผลการพัฒนาทั้งในระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับท้องถิ่นขึ้น เพื่อกำกับการนำแผนลงสู่ภาคปฏิบัติให้เข้าสู่เป้าหมายและสั่งการแก้ไขให้ทันกาล ตลอดทั้งจัดให้มีระบบประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจและยอมรับแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ ตลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น